บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ

พี่น้องวัสดุเล่าสู่กันฟัง : วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

Screenshot 2023 11 10 101337

#วิศวกรรมวัสดุจบแล้วทำงานอะไรบ้าง

#พี่น้อง MatE_KU กลับมาเล่า

พี่โบว์ หรือ อาจารย์พี่โบ MatE8 KU65 E61 มาแชร์โอกาสสายงานด้านการศึกษาให้น้องๆได้อ่านกันบ้าง..

ปัจจุบัน พี่โบว์ เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ..

ดูจากสายงาน หลายคนคงคิดว่าพี่โบว์เรียนจบสายงานด้านโลหะมาตรง.. แต่จริงๆแล้ว พี่โบว์ จบ ตรี-โท-เอก จากภาควิชาฯของเรา โดยทำวิจัยและบุกเบิกงานวิจัยในด้าน #จีโอพอลิเมอร์#Geopolymer สำหรับงาน #ด้านวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แต่ด้วยจุดแข็งของศิษย์เก่าภาคเราฯ ที่มีความโดดเด่นในด้าน #วัสดุศาสตร์แบบองค์รวม#Comprehensive_Materials ทำให้พี่โบว์สามารถประยุกต์ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่ได้เรียนในครบทุกด้านตลอดช่วงตรี-โท-เอก เอื้อต่อการเรียนรู้ศาสตร์วัสดุใหม่ๆตลอดชีวิต #life_long_learning ช่วยให้เป็น อาจารย์ ที่มีคุณภาพให้กับสาขาของภาคพี่โบว์ได้…

ในงานวิจัย นอกจากยังคงแอคทีฟกับงานวิจัยด้าน #Geopolymer แล้ว ก็ยังทำวิจัยประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเซรามิกร่วมกับเทคโนโลยีการเชื่อม เช่น การเชื่อมวัสดุโลหะและเซรามิกเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ความหลากหลายของการใช้ประโยชน์

พี่โบว์ยังเป็นอาจารย์หลักที่สอนวิชา #วัสดุศาสตร์สำหรับวิศวกร ให้กับนักศึกษาที่ภาควิชาฯพี่โบด้วยนะ..

ไปอ่านคำแนะนำพี่โบว์กันได้เลย…

#MaterialsEngineering_KU : ความรับผิดชอบที่ภาควิชาฯ มีอะไรบ้างครับ

#พี่โบว์ : รับผิดชอบการสอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและโท รวมถึงทำวิจัยและพัฒนาในด้านวัสดุและเทคโนโลยีการเชื่อมค่ะ

#MaterialsEngineering_KU : ความรู้ที่ได้ใช้ประโยชน์ จากการเรียนที่ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ของเรา

#พี่โบว์ : ความรู้ทุกเรื่องที่ได้เรียนมาจากภาควิชาฯ ได้นำมาใช้ทั้งหมดเลยค่ะ เช่น เรื่อง #โครงสร้างและสมบัติวัสดุ#การเลือกใช้กระบวนการเชื่อมที่เหมาะสมกับวัสดุ การทดสอบและการควบคุมคุณภาพต่างๆ สามารถนำมาใช้ในการสอนและปรับประยุกต์เพื่อพัฒนางานวิจัยได้ค่ะ

#MaterialsEngineering_KU : หากมีความฝันอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ควรเตรียมพร้อมอย่างไรครับ

#พี่โบว์ : สำหรับน้องๆที่สนใจเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกันนะคะ หนึ่งเลยคือความรู้ทางวิชาการคือสิ่งสำคัญที่สุด น้องๆควรเข้าใจความรู้ในสาขาที่ต้องการสอนอย่างลึกซึ้ง สองมีทักษะในการสอนและการใช้สื่อเครื่องมือต่างๆ สามต้องสามารถทำวิจัยและเผยแพร่งานได้ และสุดท้ายต้องมี #ทัศนคติที่เปิดกว้าง และกระตือรือร้นที่จะ #เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ตลอดชีวิตค่ะ

ขอขอบคุณพี่โบว์ ที่มาแชร์เกร็ดการเตรียมพร้อมและทำงานให้น้องๆได้เรียนรู้กันนะครับ

เช่นเคย พี่โบว์ แสดงให้เห็นถึง DNA #วิศวกรรมวัสดุพร้อมบวก ของศิษย์เก่าภาควิชาฯเรา ที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต ด้วยพื้นฐาน #ศาสตร์วัสดุแบบองค์รวม ที่เป็นหนึ่งเดียวในภาควิชาฯของเรา…

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัววิศวกรรมวัสดุของเรา ที่ #ต่างอย่างล้ำสมัย ด้วยกันได้นะ…

ค้นหาบทความ

บทความเก่า

  • Archives

    • [—]2024 (8)
    • [+]2023 (5)
    • [+]2018 (1)
    • [+]2017 (1)
    • [+]2015 (4)
  • บทความที่น่าสนใจ

    440940654 936951181556749 6366465758243339567 N 764x1080 1
    432733877 912901693961698 6753824353888786484 N
    431691880 908629707722230 8397778165853803763 N
    431313248 904767588108442 1473557166717861008 N