ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2540 โดยเป็น ภาควิชาที่มีชื่อว่า วิศวกรรมวัสดุ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรีรุ่นที่ 1 ในปีพ.ศ. 2541 ระดับปริญญาโท รุ่นที่ 1 ในปีพ.ศ. 2550 และรับนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2553 ก่อนการเปิดรับนิสิตป.ตรีรุ่นที่ 1 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อหลักสูตรที่มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมทุกด้านของวัสดุ ทางภาควิชาฯจึงได้รับพิจารณาจากกระทรวงวิทย์ให้ทุนนักเรียนไปศึกษาต่อเพื่อมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ.2535 เพื่อศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรี โท เอก จำนวน 3 ทุน คือสาขาโลหะวิทยาที่สหรัฐอเมริกา 1 ทุน สาขาการกัดกร่อนที่อังกฤษ 1 ทุน และสาขา Mechanical Metallurgy. อีก 1 ทุน ภายหลังปี 2535 ก็ส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อ ปริญญาโทและเอกด้านเซรามิกส์. และพอลิเมอร์ตามลำดับ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ จึงมีอัตรากำลังที่มีความพร้อมในศาสตร์ของวัสดุ สามารถเปิดหลักสูตรที่มีเนื้อหาวิชาครอบคลุมทุกด้านของวัสดุ ได้แก่ ด้านโลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ วัสดุประยุกต์ (วัสดุประกอบ ชีวภาพ นาโน อิเล็กทรอนิกส์) การวิเคราะห์และตรวจสอบวัสดุ และการจัดการการผลิต นอกจากนี้ ผลงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชาฯยังมีเป็นจำนวนมาก สามารถมีผลงานวิจัยติด Top Ten ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาฯได้รับการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้จัดซื้อครุภัณฑ์ที่ทันสมัยและมีมูลค่าสูง ตั้งแต่ก่อตั้งภาควิชาฯ โดยภาควิชาฯมีเครื่อง XRD. SEM. XRF. และห้องกล้องจุลทรรศน์ที่ทันสมัยตั้งแต่เปิดภาควิชาฯ ปัจจุบันภาควิชายังมีเครื่อง UTM. 3. เครื่อง เครื่องHardness 3. เครื่อง เครื่องวิเคราะห์ fatigue เครื่องวิเคราะห์ residual stress (มี 2 เครื่องในประเทศไทย) และยังมีอุปกรณ์ Materials. Processing. ทั้งทางด้าน โลหะพอลิเมอร์และเซรามิกส์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ บัณฑิตที่จบออกไป ศึกษาต่อจนจบปริญญาเอก มีทั้งรุ่นที่ 1 (เป็นวิศวกรที่เยอรมัน) รุ่นที่.3 เป็นอาจารย์ที่ สจพ. รุ่นที่ 4 เป็นอาจารย์ที่. มก. รุ่นที่. 5 เป็นอาจารย์ที่ ม.ธรรมศาสตร์. รุ่นที่ 7 เป็นอาจารย์ที่. มก. ภาควิชาฯผลิตบัณฑิตมหาบัณฑิต ทำงานทั้งภาคเอกชนและเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ มีนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต มากที่สุดในสาขาวิศวกรรมวัสดุ นอกจากนี้ ภาควิชาฯ ยังเป็นภาควิชาด้านวัสดุแห่งแรก ที่บุกเบิกหลักสูตรด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่บัณฑิตของหลักสูตรสามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ ส่งผลให้บัณฑิตที่จบออกไป. ทำงานได้ทั้ง. Production. ,Processing. , Production.and. Materials. Planning and. Control. , Materials. Testing. And. Characterization. และQuality. Engineer. ทำงานในหน่วยงานวิจัยต่างๆ ทำงานทั้งรัฐวิสาหกิจ. บางจาก. ปตท. เอกชน ทั้งอุตสาหกรรมงานโลหะ. พอลิเมอร์ เซรามิกส์. ทั้งในส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์และอีเลคทรอนิกส์ วิศวกรรมวัสดุ เป็นสาขาวิชาบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆที่สามารถนำไปใช้ใน วิศวกรรมศาสตร์แทบทุกสาขา โดยสาขาวิศวกรรมวัสดุนี้มุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้าง สมบัติ กระบวนการผลิต และสมรรถนะของวัสดุเชิงวิศวกรรม ได้แก่ โลหะ พอลิเมอร์ เซรามิก และรวมถึง วัสดุผสม วัสดุนาโน วัสดุการแพทย์ วัสดุอิเลคทรอนิกส์ และ วัสดุการบินและอวกาศ เป็นต้น โดยตัวอย่างงานของวิศวกรวัสดุในปัจจุบัน ได้แก่ - งานวิจัยเพื่อสร้างวัสดุชนิดใหม่ - งานพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึง กระบวนการผลิตด้านโลหะ พอลิเมอร์ และเซรามิก - งานวิเคราะห์ ตรวจสอบ ทดสอบวัสดุ และการประกันคุณภาพ - วิศวกรกระบวนการ (Process Engineer) ปัจจุบัน สำนักงาน ห้องเรียน ละห้องปฏิบัติการ ของภาควิชาฯ ตั้งอยู่ ณ บริเวณ ชั้น 1 ถึง 4 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์